โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง ที่ระบบประสาทส่วนกลางอาจถูกทำลายได้ภายใน 7 วันหลังจากถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด, ข่วน หรือแม้แต่เลีย ในระยะแรกจะมีความคล้ายคลึงกับอาการไข้หวัดใหญ่ แต่เมื่อไวรัสพัฒนาไปสู่ระยะที่รุนแรงแล้ว ผู้ป่วยจะแสดงพฤติกรรมแปลกๆ ผิดไปจากคนเดิม เพราะสมองเริ่มทำงานผิดปกติ ซึ่งมีโอกาสชีวิตน้อยมาก
ทำความรู้จัก โรคพิษสุนัขบ้า เป็นอย่างไร ?
โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคที่ติดเชื้อในระบบประสาทสัตว์สู่คน มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต เสียชีวิตเกือบทุกราย เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ มีแต่การประครองอาการให้อยู่ได้เท่านั้น โดยโรคพิษสุนัขบ้านี้พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น สุนัข แมว ค้างคาว วิว ลิง ชะนี กระรอก กระต่าย และหนู เป็นต้น แต่สุนัขมีสถิตินำโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คนได้บ่อยที่สุด
โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ ‘เรบีส์ ไวรัส’ ที่ติดต่อได้ผ่านทางน้ำลายจากการถูกกัด ข่วน เลีย ในบริเวณที่มีบาดแผล รอยขีดข่วน หรือถูกเลียบริเวณเยื่อบุตาหรือปาก เป็นต้น ไม่เพียงแต่แผลที่เกิดจากการบาดเจ็บเท่านั้น แต่การชำแหละซากสัตว์หรือการรับประทานเนื้อสัตว์ดิบที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าก็สามารถติดโรคได้
อันตรายจากโรคพิษสุนัขบ้า
หลังจากที่ได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้า ผู้ป่วยจะแสดงอาการภายใน 7 วัน – 1 เดือน หรือบางรายก็อาจใช้เวลาเป็นปี ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ถูกกัด โดยอันตรายจากโรคพิษสุนัขบ้าแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะเริ่มต้น มีอาการประมาณ 2-10 วัน
ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเป็นไข้ เจ็บคอ ปวดหัว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดเมื่อยตามตัว หนาวสั่น กระวนกระวาย นอนไม่หลับ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคันมากในบริเวณที่ถูกกัด หรือเจ็บเหมือนเข็มทิ่ม
ระยะที่สอง มีอาการทางสมอง 2-7 วัน
เมื่อเข้าสู่ระยะที่สอง ผู้ป่วยโรคพิษสุนับบ้าจะมีอาการทางสมอง เช่น วุ่นวาย สับสน กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้ กลืนอาหารลำบาก และเริ่มกลัวน้ำ ยิ่งมีเสียงดังหรือถูกสัมผัสตัว ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงยิ่งขึ้น จนอาจชักและเป็นอัมพาต
ระยะสุดท้าย เฉลี่ยเสียชีวิตภายใน 2-6 วัน
ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าเอะอะโวยวายมากขึ้น เป็นลมสลับกับชัก และอาจมีภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจหยุดเต้น โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด เพราะส่วนที่สำคัญของสมองถูกทำลายไปหมดแล้ว โรคจึงลุกลามไปอย่างรวดเร็ว
หากถูกสุนัขกัดต้องทำอย่างไร ?
- ปล่อยให้เลือดไหลออกตามธรรมชาติ ห้ามเค้นหรือบีบบาดแผลเพราะอาจทำให้เชื้อโรคกระจายตัวได้
- ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่เบาๆ ให้ถึงก้นแผลเป็นเวลา 15 นาที แล้วล้างสบู่ออกให้หมด และซับด้วยผ้าก็อซให้แห้ง (ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง)
- ทายาเบตาดีน การล้างแผลจะช่วยโอกาสการติดเชื้อได้ถึง 80% หากไม่มีสามารถใช้แอลกอฮอล์ 70% หรือทิงเจอร์ไอโอดีน แต่ห้ามใช้เกลือหรือยาฉุนทาลงบนแผล
- รีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ถ้าหากผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้า เช่น ถูกกัด ข่วน แพทย์จะพิจารณาฉีดวัควัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และยาฆ่าเชื้อ
*ในกรณีที่มีโอกาสติดโรคพิษสุนัขบ้าสูง แพทย์อาจพิจารณาให้อิมมูโนโกลบุลินซึ่งมีภูมิต้านทานโรคพิษสุนัขบ้าร่วมด้วย โดยจะฉีดประมาณ 4-5 ครั้ง เป็นวัคซีนมีความปลอดภัยสูง สามารถฉีดได้ทุกวัย รวมทั้งในเด็กและสตรีมีครรภ์ ข้อแนะนำคือต้องไปฉีดตรงตามแพทย์นัดทุกครั้ง เพื่อให้วัคซีนมีประสิทธิภาพสูง
การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
- หากถูกสุนัขกัดแล้ว ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น
- หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกสัตว์กัด โดยไม่แหย่หรือรังแกให้สัตว์โมโห รวมถึงไม่เข้าใกล้สัตว์ที่ไม่รู้จัก
- ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าไว้ล่วงหน้า โดยฉีด 3 เข็ม ในเวลา 1 เดือน และเมื่อถูกสัตว์กัดจะต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำอีก 1-2 เข็ม โดยไม่จำเป็นต้องฉีดอิมมูโนโกลบุลินซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาแพ้ และเจ็บปวดเวลาฉีดรอบแผลร่วมด้วย
- ควบคุมสุนัขไม่ให้เป็นโรคพิษสุนัขบ้า โดยพาไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าตามกำหนด และฉีดซ้ำทุกปี
หมดกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล เมื่อต้องการรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ถูกสุนัขกัด ด้วยประกันสุขภาพจากแรบบิท แคร์ ตัวช่วยสร้างความอุ่นใจในการรักษาที่อยู่เคียงข้างคุณ ให้การคุ้มครองอย่างครอบคลุม และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการพบแพทย์